Category Archives: ความรู้เกี่ยวกับฟุตบอล

สตั๊ด แค่เลือกรองเท้าก็ต้องเอาให้มืออาชีพ

นักรบมีอาวุธคู่กายฉันใด นักเตะก็ต้องมีรองเท้าที่คู่ควรฉันนั้น แต่การเลือกรองเท้าฟุตบอลหรือที่เราเรียกว่า “สตั๊ด” มีหลักการเลือกอย่างไร?

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับรองเท้าสตั๊ดก่อน โครงสร้างทั่วไปของสตั๊ดนั้นประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่ 1. ส่วนที่เป็น Upper ซึ่งครอบคลุมตัวผิวด้านนอกของรองเท้า 2. ส่วนที่เป็น Outsole คือส่วนที่เป็นพื้นรองด้านล่างของรองเท้า 3. ส่วนที่เป็น Insole หมายถึงบริเวณภายในรองเท้าที่ประกบอยู่กับ Upper 4. Midsole หมายถึงส่วนที่เป็นแผ่นพื้นรองฝ่าเท้าภายในตัวรองเท้า 5. Vamp หรือหัวเกือก 6. Studs หรือ Cleats คือส่วนที่เป็นแผ่นยางหรือปุ่มต่าง ๆ ใต้รองเท้า เรียกรวมง่าย ๆ ว่าปุ่มสตั๊ด และสุดท้าย 7. Last หมายถึงทรงของโครงรองเท้าซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะรูปเท้าแต่ละคน ในรองเท้ารุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีลักษณะที่หุ้มสูงขึ้นมาถึงข้อเท้าก็คือการเชื่อมยึดส่วนที่เป็น Upper, Outsole และ Insole ให้ครอบคลุมสูงขึ้นมานั่นเอง

ในการเลือกรองเท้าสตั๊ดมาใช้งานนั้น สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือสภาพสนามที่จะใส่ลงไปเล่น ไม่ใช่เรื่องของสตั๊ดตัวไหนเหมาะกับผู้เล่นกองหน้า กองหลัง สายยิงแรงหรือสายสปีด ทุกอย่างเป็นเพียงหลักการโฆษณาเท่านั้น หากแต่ที่ต้องนึกถึงอันดับแรกคือเรื่องของสนามที่จะใส่รองเท้าลงไปเล่น ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Studs หรือ Cleats หรือปุ่มบนรองเท้านั่นเอง

หลัก ๆ ของปุ่มบนรองเท้าถูกออกแบบมาเพื่อการเล่นในสนาม 4 รูปแบบได้แก่ 1. ปุ่มแบบ Firm Ground (FG) หรือปุ่มสตั๊ดสำหรับสนามหญ้าจริง เป็นสนามที่ต้องมีดินนุ่มระดับหนึ่ง ปุ่มของ FG ส่วนใหญ่มักเป็นปุ่มยางแบบคลาสสิคที่ถอดออกไม่ได้ 2. ปุ่มแบบ AG/FG Hybrid เป็นรองเท้าที่มีปุ่มลูกผสมที่สามารถเล่นได้ทั้งบนสนามหญ้าจริงและสนามหญ้าเทียมชั้นดี ปุ่มเป็นทั้งแบบเม็ดและแบบใบมีดที่ยาวกว่า FG ธรรมดา 3. ปุ่มแบบ Soft Ground (SG) ในบางสนามแข่งขันที่มีสภาพดินนุ่มกว่าปกติ เละเป็นเลนหรือฉ่ำน้ำมากไป รองเท้าที่มีปุ่มแบบ SG จะถูกเลือกใช้งาน เพราะพวกมันมีปุ่มสตั๊ดที่ยาวกว่าปกติ บางครั้งเป็นปุ่มโลหะและโลหะผสม หลายรุ่นของผลิตภัณฑ์แบบนี้สามารถถอดหัวปุ่มเหล็กออกเปลี่ยนได้ และช่วยในเรื่องการทำความสะอาดง่ายขึ้น 4. ปุ่มแบบ Artificial Grass (AG) เป็นรองเท้าที่ผลิตมาเพื่อการเล่นบนสนามหญ้าเทียมโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นปุ่มคล้ายปุ่มบนหนวดปลาหมึก 5. ปุ่มแบบ Hard Ground (HG) สนามในเอเชียส่วนใหญ่มีสภาพดินแข็งหรือแม้จะเป็นสนามหญ้าก็ยังรู้สึกสัมผัสว่าดินค่อนข้างแข็ง รองเท้าชนิดนี้จะมีปุ่มยางมากกว่าแบบ FG แต่ไม่มากเท่า AG และสุดท้ายแบบที่ 6. ปุ่มแบบ Turf (TF) มีลักษณะเป็นปุ่มยางจำนวนมาก บางทีก็เรียกว่ารองเท้าร้อยปุ่ม เหมาะในการใช้กับสนามหญ้าเทียมแบบเก่าที่ไม่มีการเสริมความนิ่มของพื้นสนาม

นอกจากนี้แล้วยังจะต้องให้ความสำคัญในเรื่ององค์ประกอบอื่น ๆ อาทิ การรับแรงกระแทกในการเตะบอลและลงน้ำหนักด้วย ซึ่งมีผลต่อสุขภาพเท้าของนักกีฬา เช่น ผู้เล่นกองหลังที่ตัวใหญ่อาจจะจำเป็นต้องใช้ Midsole หรือพื้นรองเท้าที่รับแรงกระแทกดีเป็นพิเศษ ขณะที่ผู้เล่นกองหน้าอาจจะต้องการหัวเกือกที่ช่วยลดความแรงในจังหวะหลังเท้าสัมผัสบอล เป็นต้น

การเลือกรองเท้าให้เหมาะสำหรับนักฟุตบอลก็เหมือนกับนักรบที่เลือกอาวุธประจำการ ในแต่ละสถานการณ์ของเกมผู้เล่นอาจจะไม่สามารถใช้รองเท้าคู่โปรดได้ การมีรองเท้าสำรองที่เหมาะแก่การเล่นตามสภาพพื้นสนามจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

สารพัดวัสดุทำหนังรองเท้าสตั๊ด

ตัวรองเท้าฟุตบอลนั้นในส่วนของ Upper หรือ หนังรองเท้าอยู่บนพื้นฐานเพียงสองอย่างคือ ไม่เป็นหนังธรรมชาติ ก็ต้องเป็นหนังสังเคราะห์ ซึ่งวัสดุทำ Upper เกรดดี ๆ นั้นมีผลต่อราคา หน้าตาและน้ำหนักของรองเท้า และเหล่านี้คือวัสดุฮิตที่นิยมเอามาทำส่วน Upper ของรองเท้าสตั๊ด

หนังธรรมชาติ (Leathers) ก็มีที่นิยมกันหลายอย่าง ซึ่งแต่ละวัสดุก็มีดีมีด้อยแตกต่างกันไป และในบรรดาหนังธรรมชาติที่ใช้ทำรองเท้าทุกวันนี้ก็จะมี

หนังจิงโจ้ (Kangaroo) ถือเป็นหนังชั้นดีในการทำรองเท้าสตั๊ด เป็นหนังรองเท้าที่ความนิยมไม่เคยตกยุค มีทั้งความเบาและความนุ่มในตัวเอง รองเท้าที่ผลิตโดยหนังชนิดนี้ผ่านการการันตีโดยนักฟุตบอลอาชีพว่าเวลาสวมจะรู้สึกนุ่มเท้า และเวลาสัมผัสลูกบอลก็ให้ความรู้สึกนิ่ม แต่หนังจิงโจ้มีปัญหา

หนังลูกวัว (Calfskin) เป็นอีกหนึ่งวัสดุพรีเมี่ยมที่ใช้ทำรองเท้าให้รู้สึกนุ่ม บางเบาแต่ทนทาน หนังรองเท้าชนิดนี้กันน้ำได้ดีระดับหนึ่ง แต่ถ้าเทียบแล้วก็จะหนักกว่าหนังจิงโจ้

หนังวัว (Full-grain) ทำจากหนังวัวส่วนสะโพก ค่อนข้างจะแข็งและหนากว่าทั้งสองแบบแรก แน่นอนว่าทำให้มันมีน้ำหนักมากกว่า แต่เวลาสวมใส่ก็จะรู้สึกว่ามันรับรูปกับเท้ากว่า

ปัญหาหลักของหนังธรรมชาติคือการที่พวกมันไม่กันน้ำ แถมยังทำตัวอมน้ำด้วย จึงไม่เหมาะที่จะใช้เล่นในสนามที่มีความเปียกแฉะหรือเล่นในฤดูฝน แถมในการแข่งขันฟุตบอลบางสนามยังมีการฉีดน้ำทั้งก่อนเกมและระหว่างพักครึ่งเพื่อลดความร้อนหรือเป็นแท็กติกก็ตามแต่ ทำให้รองเท้าหนังธรรมชาติเกิดปัญหาในการเล่น ดังนั้นเพื่อลดปัญหาเรื่องรองเท้ามันซับน้ำที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มจึงมีการพัฒนาเอาหนังสังเคราะห์มาผลิตรองเท้าฟุตบอล

หลังจากที่มีการเอาหนังสังเคราะห์ (Synthetic Leathers) มาใช้งาน นักเตะก็พบว่ามันค่อนข้างจะใช้งานได้ดี แถมยังมีสีสันให้เลือกใช้ด้วย บรรดาผู้ผลิตรองเท้าแต่ละเจ้าจึงได้พัฒนาการออกแบบรองเท้าที่เตะตาต้องใจมากขึ้น โดยเฉพะการผลิตรองเท้ารุ่นที่มีสีสว่างหรือสีสดออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในมุมกลับกันนักเตะบอกว่าพวกมันไม่นุ่มเท้าและสัมผัสบอลไม่นิ่มเท่าหนังแท้

พัฒนาการที่ทันสมัยที่สุดของการที่เอาหนังสังเคราะห์มาผลิตรองเท้าฟุตบอลคือการที่มันได้ก้าวเข้าสู่ 5 สุดยอดเทคโนโลยีใหม่ได้แก่ 1. ACC/NSG ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้ผิวรองเท้าสามารถควบคุมการสัมผัสบอลในสภาพเปียกแฉะได้ดีกว่าปกติ 2. Formskin คือการขึ้นรูปอัปเปอร์ของรองเท้าให้มีความยืดหยุ่นและเข้ากับรูปเท้ามากขึ้นเป็นพิเศษ 3. Anatomical Soleplate คือพัฒนาการของรองเท้าที่จับรูปเท้าและรับสภาพเท้าที่แตกต่างกันให้เกิดความสมดุลดีเยี่ยม 4. Anti-Clog ที่มันทำให้โคลนเหนอะหนะไม่ได้แอ้มรองเท้า และ 5. Net Fit ซึ่งช่วยให้เกิดการล็อครองเท้าเข้ากับรูปทรงเท้าได้ดีกว่าระบบร้อยห่วงเหมือนสมัยเก่า และยังมีอีกเทคโนโลยีที่ทำให้รองเท้าสตั๊ดทุกวันนี้กลายเป็นสุดยอดรองเท้าคือเทคโนโลยีไร้เชือกที่ทำให้รองเท้าเหมือนกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนักฟุตบอล

ในขณะที่นักกีฬาฟุตบอลมองหาเทคนิคที่สุดยอดเพื่อเก่งกว่าคนอื่น เป็นดาวเด่นเหนือคนอื่น ผู้ผลิตอุปกรณ์อย่างรองเท้าฟุตบอลเองก็พยายามพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นและก้าวขึ้นอยู่เหนือผู้ผลิตรายอื่นเช่นกัน การเลือกซื้อรองเท้าจึงไม่ใช่แค่การมีรองเท้าดี ๆ สักคู่ แต่มันคือการเลือกอาวุธคู่กายในการลงสู้บนสังเวียนลูกหนังดี ๆ นี่เอง

10 ประโยชน์ที่ได้จากกีฬาฟุตบอล

กีฬาฟุตบอลถือว่าเป็นกีฬาที่ผู้ชายหลายคนชอบกันเป็นชีวิตจิตใจ มีเวลาว่างเมื่อไหร่มักจะต้องชวนเพื่อนฝูงกันไปเตะบอลกันอยู่ตลอด ไม่ว่าจะฟุตบอลหรือฟุตซอล ต่างก็เป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความคล่องตัว และความอดทน แต่รู้กันหรือไม่ว่าการเล่นฟุตบอลนั้นให้ประโยชน์ต่อเรามากกันเลยทีเดียว มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

Continue reading

สองเท้ากับการสร้างความคุ้นเคยกับฟุตบอล

 

กีฬาทุกประเภทเริ่มต้นด้วยความรักและฟุตบอลก็เช่นกัน มิเช่นนั้นเราคงไม่สามารถเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ ให้ดีได้ ความรักในกีฬาชนิดต่าง ๆ นำมาซึ่งความสนใจและความศรัทธา จนกระทั่งสร้างแรงบันดาลใจให้เราอยากจะเป็นตามสิ่งที่เรารัก การสร้างความคุ้นเคยกับฟุตบอลเป็นสิ่งที่สำคัญลำดับต้น ๆ เมื่อคุ้นเคยแล้วนักฟุตบอลก็จะเข้าใจ และสามารถประมวลผลให้สมองให้ทำได้อย่างที่ตั้งใจได้ทุกประการ สมาธิคืออย่างหนึ่งที่สำคัญมาก และสุขภาพของนักกีฬาก็เป็นส่วนสนับสนุน เรียกได้ว่าทุกอย่างล้วนอาศัยองค์ประกอบของร่างกายในทุก ๆ ส่วน และไม่ว่าจะเคลื่อนไหวร่างกายไปในทิศทางใดก็ตามจะทำให้เกิดความแม่นยำ ทำให้เราสามารถครอบครองบอลได้มากขึ้นและไปถึงเป้าหมายที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งนักเตะก็ต้องคุ้นชินกับลูกฟุตบอลให้ได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน

Continue reading

รู้หรือไม่ว่าฟุตบอลที่เรารู้จักกันนั้นมาจากประเทศอะไร

 

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซ้ำยังเป็นศูนย์รวมความสามัคคี และสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนทั่วโลกได้จนมาถึงปัจจุบัน กว่าจะมาเป็นฟุตบอลจนถึงทุกวันนี้  แต่รู้ไหมว่าทำไมฟุตบอลนั้นเริ่มต้นมาจากที่ใด ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เริ่มต้นมาจากประเทศอะไรไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด หากถกเถียงกันก็คงไม่จบสิ้น และไม่มีใครยืนยันได้ แต่ประชาชนหลายประเทศที่มีวัฒนาการเรื่องฟุตบอลมาตั้งแต่เริ่มแรกนั้นต่างยืนยันว่ามาจากประเทศของตน ซึ่งในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งเรียกว่า “ซูเลอ” (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) รูปแบบเกมการเล่นคล้ายกับการเล่นฟุตบอลใจปัจจุบันมาก แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่ก็มีการถกเถียงระหว่างสองประเทศเรื่อยมา แต่สุดท้ายก็หาข้อยุติไม่ได้ แต่ประวัติของฟุตบอลนั้นสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จาก รูปแบบการเล่นและเกมกติกาที่แน่นอน ในปี พ.ศ.2406 ประเทศอังกฤษได้ก่อตั้งสมาคมฟุตบอล และในปี พ.ศ.2431 ได้มีฟุตบอลอาชีพเกิดขึ้น ซึ่งนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฟุตบอลเป็นที่สนใจทั่วทุกมุมโลก

Continue reading